เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 วารสาร MASCIInnoversity ได้นำเสนอบทความ เรื่อง “ออสเตรเลียออกสมุดปกขาวเรื่องมาตรฐานกับ Metaverse” ซึ่งกล่าวเตือนถึงความสำคัญของการพัฒนามาตรฐาน Metaverse เพื่อป้องกันและจัดการกับภัยที่อาจเกิดขึ้นจาก Metaverse สำหรับบทความในครั้งนี้ จะนำเสนอมมุมมองที่สำคัญเกี่ยวกับ Metaverse และการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับประเด็นต่าง ๆ ของ Metaverse ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ปัจจุบัน เราเริ่มเห็นบริษัทต่าง ๆ นำ Metaverse ไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจมากขึ้น และเพื่อทำให้เห็นภาพของ Metaverse ชัดเจนมากขึ้น ลองมาฟังความคิดเห็นของเรเดีย ฟันนา ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษา Build n Blaze (เป็นผลมาจากทฤษฎีของเธอที่มีชื่อว่า “Disruptive Organizational Strategy”) เจ้าของทฤษฎี xHuman และอดีตนักแสดงที่ได้กล่าวว่า Metaverse นั้น อาจเปรียบได้กับวลีที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการละครเวทีและวงการภาพยนตร์ว่าเป็นการแสดงที่ทลาย “กำแพงที่ห้า” ลงอย่างสิ้นเชิง
ในวงการละครเวทีนั้น การแสดงบนเวทีจะมีกำแพงกั้นระหว่างผู้ชมกับผู้แสดงโดยมีความหมายทั้งในแบบที่แท้จริงและในเชิงนัยยะ ซึ่งเป็นจินตนาการพื้นที่ของละครเวทีว่าเปรียบเสมือนห้องที่มีกำแพงล้อมรอบสามด้าน ด้านหนึ่งเป็นกำแพงล่องหนที่ผู้ชมสามารถมองทะลุเข้าไปยังโลกของตัวละครในขณะที่ตัวละครก็ดำเนินเรื่องราวในโลกคนตนเองราวกับว่าไม่มีใครเฝ้าดูอยู่ ส่วนกำแพงที่สี่นั้น คือการที่ตัวละครรับรู้ถึงผู้ชมและพูดคุยกับผู้ชมได้ (ทฤษฎีการทลายกำแพงที่สี่ของเดอนีส ดีเดอโร นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส) และต่อมา มีการพัฒนาแนวคิดไปเป็นกำแพงที่ห้า คือการที่ตัวละครรับรู้ถึงผู้เขียนและพูดคุยกับผู้เขียนได้
จากจุดนี้เอง การเดินทางจากอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันไปสู่เมตาเวิร์สก็เหมือนกับการทลายกำแพงที่ห้าลงซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งาน Metaverse สามารถรับรู้ พูดคุยและคลุกคลีกับเอไอได้นั่นเอง
ปัจจุบัน Metaverse ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ก็ได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่มีผลกระทบต่อชีวิต ความเป็นอยู่ และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์เรา โดยมีศักยภาพสำหรับผู้บริโภค ธุรกิจ องค์กร และเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกที่กำลังจะก้าวไปสู่เส้นทางการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องแน่ใจว่าการสร้าง Metaverse ขึ้นมาจะเป็นไปในลักษณะที่ทุกคนเข้าถึงได้ ไม่ใช่แค่ผู้ที่มีฐานะดีหรือผู้ที่มีสิทธิพิเศษเท่านั้น เนื่องจาก Metaverse อาจทำให้เกิดความแตกต่างหรือการแบ่งแยกทางดิจิทัลยิ่งขึ้นหากมีการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม
เรเดีย ฟันนา จึงเรียกร้องให้ทั่วโลกมีการทำงานร่วมกันเพื่อให้ทุกคนในทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึง Metaverse ได้ไม่ว่าจะมีรายได้เท่าใดหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่ใดบนโลกนี้
ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องดังกล่าวก็คือ ภาคเอกชนที่สามารถสร้างโมเดลธุรกิจที่เพิ่มศักยภาพของ Metaverse เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของมนุษย์เราให้ดีขึ้นโดยคำนึงถึงสังคม เช่น การเข้าถึง Metaverse และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์และบริการที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เป็นต้น ส่วนหน่วยงานกำกับดูแลก็จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของ Metaverse และกำกับดูแลและกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องผู้ใช้งานไปจนถึงการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อ SDGs ด้วย
มาตรฐานสากลจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและพัฒนา Metaverse ที่มีความปลอดภัยและเป็นประโยชน์สำหรับทุกคน การมีมาตรฐานสากลจะทำให้มั่นใจว่า Metaverse สามารถทำงานร่วมกันได้ เข้าถึงได้ มีความปลอดภัย และสามารถตอบโจทย์ SDGs ได้ในที่สุด
ตัวอย่างมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse เช่น ISO/IEC 18038, Information technology – Computer graphics, image processing and environmental representation — Sensor representation in mixed and augmented reality ซึ่งเป็นกรอบการทำงานและโมเดลอ้างอิงข้อมูลสำหรับการนำเสนอโลกความเป็นจริงผสมสามมิติแบบเซ็นเซอร์ และ ISO/IEC 23000-13, Information technology – Multimedia application format (MPEG-A) – Part 13: Augmented reality application format ซึ่งระบุกลไกในการเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์และหัวขับ (actuator) เป็นต้น
มาตรฐานสากลเกี่ยวกับ Metaverse จะได้รับการอภิปรายในการประชุมไอเอสโอประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองบริเบน ประเทศออสเตรเลียระหว่างวันที่ 18 – 22 กันยายน 2566 เพื่อช่วยจัดการกับความท้าทายด้าน Metaverse ของโลกครั้งใหญ่ในโอกาสนี้เช่นกัน
ที่มา: 1. https://www.beartai.com/lifestyle/1163136
2. https://www.iso.org/news/metaverse
Related posts
Tags: Accessibility, Information Technology, ISO, ISO/IEC, ISO/IEC 18038, ISO/IEC 23000-13, Metaverse, safety, SDGs, standard, Standardization
ความเห็นล่าสุด