ปัจจุบัน เราอยู่ในยุคที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตที่มีมิติหลากหลายซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “Polycrisis” วิกฤตนี้เกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กัน มีความซับซ้อนและเชื่อมโยงถึงกันหมด ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สงครามในยูเครน วิกฤตพลังงาน หรือปัญหาทางเศรษฐกิจ ทำให้รัฐบาลและสังคมโลกต้องพยายามหาหนทางที่จะตอบสนองการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
วิกฤตหลากมิติ ได้รับการกล่าวขานถึงและกลายเป็นคำที่ติดกระแสเทรนด์มากขึ้นเป็นลำดับนับตั้งแต่มีการอภิปรายในการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก (WEF) ปี 2566 (ค.ศ.2023) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2566 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
แม้คำว่า “Polycrisis” ได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษ 1970 แล้ว แต่นักประวัติศาสตร์อย่างนีล เฟอร์กูสัน ก็ปฏิเสธคำ ๆ นี้ และกล่าวว่ามันเป็นเพียงแค่ประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ยังไม่มีข้อสรุปแต่อย่างใด เพียงแต่เกิดความกังวลกันว่าวิกฤตการณ์ในระบบโลกระบบหนึ่งเมื่อมีผลกระทบแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อไปยังระบบอื่นๆ ทั่วโลก ทำให้วิกฤตการณ์ต่าง ๆ เลวร้ายลงไปอีก แนวคิดของวิกฤตการณ์หลายจุดร่วมกันทำให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์เชิงสาเหตุทั่วทั้งระบบทั่วโลกมากขึ้น (เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กระตุ้นให้เกิดการขาดแคลนอาหาร การระบาดใหญ่ครั้งใหม่และอุบัติซ้ำ ไปจนถึงการย้ายถิ่นฐานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นต้น)
วารสาร FUE ของ European Liberal Forum (ELF) ฉบับวันที่ 10 เมษายน 2566 ได้กล่าวไว้ว่าวิกฤตหลากมิติได้ก่อให้เกิดความแตกต่างกันอย่างสุดขั้วของความคิดเห็นที่มีอยู่มากมายเพิ่มมากขึ้น และเกิดข้อมูลที่รับทราบกันมาผิด ๆ จนกลายเป็นห้องแห่งข้อมูลที่ผู้คนต่างแยกตัวเองเข้าไปอยู่ในนั้นและเป็นแหล่งที่ยืนยันความเชื่อเดิมของตนเองที่มีอยู่แล้ว ทำให้ยากต่อการสร้างฉันทามติใด ๆ รวมทั้งยากต่อการแก้ไขปัญหาที่เผชิญอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับเรื่องนี้ จำเป็นต้องหาวิธีทำลายวงจรของการแบ่งขั้วและการรับข้อมูลที่ผิดพลาดดังกล่าว ซึ่งหมายความถึงการเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราใช้โซเชียลมีเดีย รวมไปถึงการลงทุนในด้านการศึกษา และการรู้เท่าทันสื่อด้วย
อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและสังคมโลกสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาวิกฤตหลากมิติที่เกิดขึ้นมากมายทั่วโลกได้ โดยให้ความสำคัญในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวม ดังต่อไปนี้
- การลงทุนในเทคโนโลยีสีเขียวและโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งจำเป็นต้องสร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมใหม่ขึ้นมาเพื่อปกป้องผู้คนจากผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และวิกฤตอื่นๆ
- การพัฒนารูปแบบใหม่ของการประกันภัยความเสี่ยงภัยต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การถูกย้ายงานหรือให้ออก เป็นต้น ซึ่งจะช่วยบรรเทาความวิตกกังวลและความรู้สึกไม่มั่นคง รวมทั้งช่วยสร้างความยืดหยุ่นต่อวิกฤตในอนาคต
- การลงทุนในเทคโนโลยีและสถาบันหรือองค์กรใหม่ๆ ที่ช่วยจัดการกับวิกฤตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงเทคโนโลยีต่างๆ อย่างปัญญาประดิษฐ์ ตลอดจนวิธีการใหม่ๆ ในการควบคุมและควบคุมเทคโนโลยีเหล่านั้น
- การกำหนดนโยบายเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม เช่น สนับสนุนการวิจัยและพัฒนา สร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ และควบคุมการใช้เทคโนโลยีในลักษณะที่ปกป้องสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนามาตรฐานซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานและมีบทบาทสำคัญสำหรับการส่งเสริมนวัตกรรม สังคม และอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ
มาตรฐานสากลที่สามารถช่วยให้โลกของเรารับมือกับวิกฤตโลกหลากมิตินั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มาตรฐานไอเอสโอด้านความมั่นคงปลอดภัย และความยืดหยุ่น (Security and resilience) ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมีความยืดหยุ่น สามารถปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มมูลค่าด้านความมั่นคงปลอดภัยให้ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล ดังตัวอย่างเพียงส่วนหนึ่ง ต่อไปนี้
- ISO 22301, Security and resilience – Business continuity management systems – Requirements
- ISO 22342, Security and resilience – Protective security – Guidelines for the development of a security plan for an organization
- ISO 22361[PW1] , Security and resilience – Crisis management – Guidelines
- ISO 22378, Security and resilience – Authenticity, integrity and trust for products and documents – Guidelines for interoperable object identification and related authentication systems to deter counterfeiting and illicit trade
- ISO 22384, Security and resilience – Authenticity, integrity and trust for products and documents - Guidelines to establish and monitor a protection plan and its implementation
- ISO 22385, Security and resilience - Authenticity, integrity and trust for products and documents —
Guidelines to establish a framework for trust and interoperability
- ISO 28001, Security management systems for the supply chain – Best practices for implementing
supply chain security, assessments and plans - Requirements and guidance
วิกฤตโลกหลากมิติอาจทำให้คนทั่วโลกหวั่นวิตกต่อความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น แต่ก็เป็นโอกาสครั้งสำคัญที่ทำให้ทั่วโลกร่วมมือกันเพื่อก้าวสู่อนาคตที่มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น มั่นคงปลอดภัยมากขึ้น และยั่งยืนมากขึ้นต่อไป
ที่มา: 1. https://feu-journal.eu/issues/issue-3/introduction-the-new-era-of-polycrisis-and-how-to-tackle-it/
2. https://www.iso.org/home.html
Related posts
Tags: BCM, ISO, ISO 22301, ISO 22342, ISO 22361, ISO 22378, ISO 22384, ISO 22385, ISO 28001, Polycrisis, resilience, Security, standard, Standardization, WEF
Recent Comments