4 Future of Thailand
Introduction
ท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองและสังคมที่แตกแยก ความผันผวนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อความอยู่รอดและการพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืน แต่ละองค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องหาวิธีหรือเครื่องมือในการรับมือกับความไม่แน่นอน (Uncertainty) ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอได้สร้างภาพเหตุการณ์จำลองอนาคตภายใต้คำถามสำคัญที่ว่า “อนาคตประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้า จะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนหรือไม่ (Will Thailand be able to attain sustainable growth in the next 5 years?)” โดยวิเคราะห์เหตุผลที่อาจเป็นไปได้ (Plausible) จาก 2 แรงผลักดัน (Driving Force) คือ การเปลี่ยนแปลงของประชาธิปไตย (Shift of Democracy) และ การแบ่งแยกทางสังคม (Social Divide) ซึ่งสามารถแบ่งภาพเหตุการณ์จำลองอนาคตที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละจตุภาค (Quadrant)
ท่ามกลางวิกฤตทางการเมืองและสังคมที่แตกแยก ความผันผวนและความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ กลายเป็นเรื่องที่ท้าทายต่อความอยู่รอดและการพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืน แต่ละองค์กรจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องหาวิธีหรือเครื่องมือในการรับมือกับความไม่แน่นอน (Uncertainty) ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้
สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอได้สร้างภาพเหตุการณ์จำลองอนาคตภายใต้คำถามสำคัญที่ว่า “อนาคตประเทศไทยใน 5 ปีข้างหน้า จะสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนหรือไม่ (Will Thailand be able to attain sustainable growth in the next 5 years?)” โดยวิเคราะห์เหตุผลที่อาจเป็นไปได้ (Plausible) จาก 2 แรงผลักดัน (Driving Force) คือ การเปลี่ยนแปลงของประชาธิปไตย (Shift of Democracy) และ การแบ่งแยกทางสังคม (Social Divide) ซึ่งสามารถแบ่งภาพเหตุการณ์จำลองอนาคตที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละจตุภาค (Quadrant)
Transformation of Thai Industry Scenarios to 2030
Introduction
การสร้างภาพจำลองอนาคตเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในโลกที่ไม่สามารถทำนายได้ เหตุการณ์ต่างๆ ล้วนแต่เกิดขึ้นตามปัจจัยอันหลากหลายที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กัน การสร้างภาพจำลองอนาคตจะช่วยให้เราสามารถจัดการและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทำให้เรามองเห็นหนทางที่หลากหลายที่อาจมีอยู่ เพื่อเราในวันพรุ่งนี้ โดยสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์ของความเป็นผู้นำในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้บรรลุความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการสร้างภาพจำลองอนาคตซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของคู่มือกลยุทธ์ในทุกๆ องค์กรและเป็นกุญแจสู่การวางแผนอนาคต สถาบันฯ มีความยินดีที่จะนำเสนอรายงานการสร้างภาพจำลองอนาคตประจำปีที่ตั้งใจจัดทำขึ้น และแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับทุกท่าน เพื่อที่จะสนับสนุนการสร้างภาพจำลองอนาคตมาใช้ในการวางแผนสำรวจอนาคตและแปลงข้อมูลเชิงกลยุทธ์ไปสู่การรับรู้ที่สดใหม่อยู่เสมอ
การสร้างภาพจำลองอนาคตเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในโลกที่ไม่สามารถทำนายได้ เหตุการณ์ต่างๆ ล้วนแต่เกิดขึ้นตามปัจจัยอันหลากหลายที่เข้ามามีปฏิสัมพันธ์กัน การสร้างภาพจำลองอนาคตจะช่วยให้เราสามารถจัดการและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งทำให้เรามองเห็นหนทางที่หลากหลายที่อาจมีอยู่ เพื่อเราในวันพรุ่งนี้ โดยสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ให้ความสำคัญกับวิสัยทัศน์ของความเป็นผู้นำในการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมไทยให้บรรลุความสามารถในการดำเนินการอย่างยั่งยืน และสนับสนุนการสร้างภาพจำลองอนาคตซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของคู่มือกลยุทธ์ในทุกๆ องค์กรและเป็นกุญแจสู่การวางแผนอนาคต สถาบันฯ มีความยินดีที่จะนำเสนอรายงานการสร้างภาพจำลองอนาคตประจำปีที่ตั้งใจจัดทำขึ้น และแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกในสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตสำหรับทุกท่าน เพื่อที่จะสนับสนุนการสร้างภาพจำลองอนาคตมาใช้ในการวางแผนสำรวจอนาคตและแปลงข้อมูลเชิงกลยุทธ์ไปสู่การรับรู้ที่สดใหม่อยู่เสมอ
Climate Change Scenerios to 2020
Introduction
ในช่วงศตวรรษที่ 20 ความถี่และความรุนแรงของภัยธรรมชาติส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและทั่วโลก และส่งผล กระทบต่อการดำเนินการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมืองในบริบทของโลกและของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ของฤดูกาล ลมฟ้าอากาศ ระดับน้ำทะเล แหล่งน้ำ ความแห้งแล้ง พื้นที่น้ำท่วมขัง ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) สู่ชั้นบรรยากาศโลก และเป็นสาเหตุทำให้อุณหภูมิของโลกปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายประการ ที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอย่ของมนุษย์ เช่น การเกิดพายุและน้ำท่วมอย่างรุนแรง จากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา การเกิดพายุไต้ฝุ่นทอร์นาโด เป็นต้น
ในช่วงศตวรรษที่ 20 ความถี่และความรุนแรงของภัยธรรมชาติส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบนิเวศทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาคและทั่วโลก และส่งผล กระทบต่อการดำเนินการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมืองในบริบทของโลกและของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ของฤดูกาล ลมฟ้าอากาศ ระดับน้ำทะเล แหล่งน้ำ ความแห้งแล้ง พื้นที่น้ำท่วมขัง ความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศต่างๆ ที่เป็นผลมาจากการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Green House Gas: GHG) สู่ชั้นบรรยากาศโลก และเป็นสาเหตุทำให้อุณหภูมิของโลกปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์หลายประการ ที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอย่ของมนุษย์ เช่น การเกิดพายุและน้ำท่วมอย่างรุนแรง จากปรากฏการณ์เอลนีโญและลานีญา การเกิดพายุไต้ฝุ่นทอร์นาโด เป็นต้น
ความเห็นล่าสุด