รู้จักไอเอสโอ
ไอเอสโอทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานสากลและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ
ไอเอสโอทำหน้าที่ส่งเสริมการพัฒนามาตรฐานสากลและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการระหว่างประเทศ และพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจ
ข้อมูลเชิงลึกที่ไอเอสโอได้ค้นคว้าวิจัยมาดังกล่าวนั้นได้มีการนำไปใช้ในการดำเนินงานของไอเอสโอในการกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงบริบทองค์กร ทำให้สามารถพัฒนามาตรฐานสากลที่สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดเกิดใหม่ของโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
ไอเอสโอเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของโลกและได้รวบรวม วิจัยข้อมูลเชิงลึกทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี พร้อมทั้งได้นำไปพิจารณาประกอบการกำหนดกลยุทธ์และเป้าหมายของไอเอสโอแล้ว (ISO 2030 Strategy) โดยได้กำหนดเป้าหมายสูงสุดไว้คือการเข้าใจบริบทในการดำเนินงานและสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดเกิดใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำมาตรฐานไปใช้ทำให้เกิดประโยชน์มากมาย เช่น ปรับปรุงกระบวนการภายในบริษัท ลดของเสียและต้นทุนภายใน เพิ่มประสิทธิภาพของการวิจัยและพัฒนา สร้างสรรค์กระบวนการทางธุรกิจและนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรม ทำให้ลดความเสี่ยงต่าง ๆ ลง ช่วยให้มีการขยายตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์และตลาดใหม่ เป็นต้น
การหยุดชะงักของธุรกิจคือประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารส่วนใหญ่กังวล แต่หากบริหารจัดการได้ดี ก็จะเป็นประโยชน์และเกิดโอกาสอีกมากมาย แต่ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดใด ๆ ขึ้น การมีแผนงานและความสามารถด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการฟื้นฟูการดำเนินงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งมาตรฐานสากล ISO 22301 เป็นมาตรฐานฉบับแรกของโลกที่องค์กรสามารถนำไปใช้เพื่อดำเนินการและรักษาแนความต่อเนื่องทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ISO 14083 จะช่วยเพิ่มความสอดคล้องระหว่างบัญชีของบริษัทและองค์กรกับบัญชีของภาครัฐสำหรับการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทำให้เกิดความโปร่งใส และยังเป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้มั่นใจในแนวทางปฏิบัติที่ภาคส่วนนี้ดำเนินการอยู่แล้วรวมทั้งมาตรฐานสากล ISO 14083 ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ด้วย รวมทั้งมีส่วนทำให้ภาคส่วนโลจิสติกส์สามารถต่อสู้เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการขนส่งในอนาคตด้วย
จะเห็นได้ว่า 70% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในโลกนี้เกี่ยวข้องกับการสกัดวัตถุดิบและการแปรรูปทรัพยากรต่าง ๆ ดังนั้น การเปลี่ยนไปใช้แบบจำลองการผลิตและการบริโภคสินค้าที่ยั่งยืนมากขึ้นในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ตัวอย่างเช่น ของเสียอย่างความร้อนและน้ำเสียสามารถนำมาใช้เป็นทรัพยากรที่ช่วยเติมเต็มให้วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์มีความสมบูรณ์ แทนที่จะทิ้งไปหลังจากใช้แล้วซึ่งทำให้มีการใช้งานอย่างคุ้มค่ามากที่สุด
เมื่อครั้งที่ไอเอสโอจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2490 (ค.ศ.1947) นั้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาใหม่หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และผู้คนก็พยายามมองหาวิธีที่การจะเปลี่ยนสถานการณ์ที่เลวร้ายให้กลับกลายเป็นสิ่งที่ดีขึ้นโดยค้นหาวิถีทางต่างๆ อย่างกระตือรือร้นเพื่อให้ได้มาซึ่งเทคนิคที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด ส่งเสริมเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และคำตอบที่ผู้คนเหล่านั้นค้นพบคือ “มาตรฐานไอเอสโอ”
เมื่อมองอีกด้านหนึ่งของความไม่แน่นอน มันคือโอกาสในการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายเป็นอย่างมาก องค์กรและธุรกิจที่คล่องตัวและพร้อมที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำเร็จมากขึ้นในการบรรลุเป้าหมาย ตามที่เอ็ดดี้ เอ็นโจโรเก้ อดีตประธานไอเอสโอได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์เมื่อไม่นานมานี้ว่า ไม่เคยมีช่วงเวลาใดไหนที่สำคัญมากสำหรับมาตรฐานระหว่างประเทศเท่าตอนนี้ซึ่งมาตรฐานต้องนำโดยตลาดและอิงตามฉันทามติ เพื่อสนับสนุนความท้าทายระดับโลกที่ต้องเผชิญกับระบบการค้าพหุภาคี ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจและการค้า
คณะกรรมาธิการยุโรปได้กล่าวไว้ว่า “มาตรฐาน” เป็นปัจจัยสำคัญของนโยบายการค้า มีส่วนช่วยในการขจัดอุปสรรคทางเทคนิค เพิ่มการเข้าถึงตลาดและการค้าระหว่างประเทศ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ การใช้มาตรฐานสามารถช่วยให้อุตสาหกรรมในสหภาพยุโรปและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าถึงตลาดโลกได้ นอกจากนี้ มาตรฐานยังช่วยให้ผู้ผลิตลดต้นทุน คาดการณ์ข้อกำหนดทางเทคนิค และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและนวัตกรรมได้ด้วย
Recent Comments